วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 4

องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ และรวมเอาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหลายปะเภทเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเราอาจแบ่งประเภทธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวออกเป็น 2 ประเภทคือ
ธุรกิจที่จัดว่าเป็นองค์ประกอบหัก และธุรกิจที่จัดว่าเป็นองค์ประกอบเสริมดังที่กล่าวไปแล้วในบทที่ 1 ในบทนี้จะศึกาเรื่องขององค์ประกอบหลักประเภทแรกคือ แหล่งท่องเที่ยว


แหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่มีช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศ หากลองคิดดูง่าย ๆ ว่าถ้านักศึกษาจะเดินทางไปท่องเที่ยวที่จังหวัดชลบุรี นักศึกาจะไปที่ไหน แน่นนอนว่า คำตอบส่วนใหญ่คือ ทะเล ดั้งนั้น
หากไร้ซึ่งการท่องเที่ยวแล้ว คงไม่มีนักท่องเที่ยวอยากเดินทางเข้ามายังประเทศนั้น ๆ มีคำจำกัดความ 3 คำ ที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่1. ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว(tourism resources)
2. จุดหมายปลายทาง(destination)
3. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว(tourist attraction)
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยวอาจจะแบ่งแหล่งท่องเที่ยวได้ด้วยลักษณะเฉพาะทางต่างๆ ได้แก่
1. ขอบเขต(scope)
1) อาจแบ่งแหล่งท่องเที่ยวเป็น 2 ประเภทตามขอบเขตได้แก่ จุดหมายหลัก คือสถานที่ต้องน่าดึงดูด
2) จสำหรับนักท่องเที่ยวที่ทำให้วกเขาเหล่านั้นมุ่งตรงไปยังสถานที่นั้น
3) จุดหมายรองคือ สถานที่แวะพัก หรือเยี่ยมชมระหว่างการเดินทางไปยังจุดหมายหลัก ส่วนมากเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ
2. ความเป็นเจ้าของ(ownership)แหล่งท่องเที่ยวทั้งที่เป็นสถานที่ทางธรรมชาตและมนุษย์สร้างขึ้น อาจจัดแบ่งได้ตามความเป็นเจ้าของ ซึ่งทำให้ทราบว่าแหล่งเงินสนับสนุนมาจากที่ไหน หรือรายได้ต่าง ๆ ตกอยู่ที่ใคร ต้องเสียภาษีเท่าไร เหมือนการขายสินค้าประเภทอื่น ๆ ผู้ที่จัดว่าเป็นเจ้าของแหล่งทอ่งเที่ยวได้แก่
1) รัฐบาล
2) องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
3) เอกชน
3. ความถาวรคงทน(permanency)
คือแบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว ประเภทที่เป็นสถานที่ อาจจะมีความคงทนถาวรกว่าประเภทที่เป็นงานเทศกาลหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพราะงานเทศกาลมักจะมีช่วงเวลาของการดำเนินงาน
4. ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวDrawing power)แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะสนองความต้องการ หรือจุดประสงค์ของนักท่องเที่ยวต่างกันไป อย่างไรก็ดี แหล่งท่องเที่ยวที่ยังคงได้รับความนิยมอาจจะมีลักษณะที่เป็น แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ชุมชน และการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว
การทอ่งเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 3 ประเภท
1. หล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
2. แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์
3. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของคนในท้องถิ่น
แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติหมายถึง สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งดานชีวภาพ และกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน ซึ่งทรัพยากรประเภทนี้ไม่มีต้นทุนการผลิตแต่มีต้นทุนในด้านการดูแลรักษา
ตัวอย่างแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติในประเทศไทย- ชายหาดบางแสน
- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
- อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
- ภูกระดึง
- เกาะต่าง ๆ ที่จังหวัดกระบี่ พังงา
- แม่น้ำเจ้าพระยา
ตัวอย่างแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติในต่างประเทศ

- ภูเขาฟูจิที่ญี่ปุ่น










- นำตกไนแองการ่า อยู่ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนนาดาเป็นต้น




แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นคือสถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุรวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป แต่ท้ายที่สุดก็กลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าทางการท่องเที่ยว

สำหรับโบราณสถานที่มีในประเทศไทยนั้นกรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น 7ประเภทได้แก่1. โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
2. อนุสาวรีย์แห่งชาติ
3. อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ
4. ย่านประวัติศาสตร์
5. อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ
6. นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ
7. ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ
ตัวอย่างแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นเองในต่างประเทศ- ปีระมิด ประเทศอียิปต์
- พระราชวังแวร์ซายน์ ประเทศฝรั่งเศษ
- หอเอนเมืองปิซา ประเทศอิตตาลี
- พุทธคยา ประเทศอินเดีย
- บุโรพุทโธ ประเทศอินโดเนเซีย
แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
ภาคกลาง
ประกอบไปด้วย 21 จังหวัดและ1เขตการปกครองพิเศษ ได้แก่จังหวัด กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพรชบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง ส่วนกรุงเทพมหานครไม่นับว่าเป็นจังหวัด
ภาคเหนือประกอบไปด้วย 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด กำแพงเพรช เชียงรายเชียงใหม่ นครสววร์ ตาก น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพรชบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุขโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานีมีพื้นที่รวม 169644.3 ตารางกิโลเมตหรือประมาณ 106 ล้านไร่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคอีสานประกอบด้วย 19จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานีมีพื้นที่ประมาณ 170226ตารางกิโลเมตร หรือ1ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
ภาคตะวันออกประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด จันทบุรี ชลบุรี ตราด และระยอง
ภาคใต้ประกอบด้วย14จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช บาราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฤร์ธานีพื้นที่ภาคใต้ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินเดียขนาบด้วยท้องทะเลอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเล อันดามันทางฝั่งตะวันตกมีเนื้อที่รวม707152ตารางกิโลเมตรจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดคือสุราษฏร์ธานี และจังหวัดที่เล็กที่สุดคือภูเก็ตมีความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น